top of page
staffplaaimboon

ความสำคัญและความเป็นมาของวันพระ

Updated: Apr 3



วันพระ เปรียบเสมือนเป็นประเพณีวัฒนธรรมของชาวพุทธเรามาแต่ช้านาน พุทธศาสนิกชนใช้วันนี้ในการออกไปทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน นั่งสมาธิ หลายคนใช้โอกาสในวันนี้ในการละเว้นความชั่ว ละเว้นอบายมุข รักษาศีล ฟังธรรมเทศนา เพื่อให้จิตใจสงบสุข

.

วันพระเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อสมัยพุทธกาล เล่ากันว่าได้มีเหล่านักบวชนอกศาสนาแสดงคำสอนตามความเชื่อของแต่ละตนในทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระราชา ได้ทราบเรื่องจึงเกิดความคิดว่าคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนาควรจะกระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของเหล่าพุทธศาสนิกชน จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เหล่าคณะสงฆ์ตามพุทธานุญาตจึงได้เริ่มพัฒนาการแสดงคำสอน จากการเริ่มนั่งสมาธิ จนไปถึงเริ่มมีการสวดปาฏิโมกข์ อันเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนาพร้อมกับการแสดงอาบัติ

.

ซึ่งได้มีการกำหนดวันแสดงธรรมนี้ว่า การประชุมฟังธรรม หรือ ธรรมสวนะขึ้น โดยในทางศาสนาจะเรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันจำศีลของอุบาสกอุบาสิกาผู้ต้องการบุญกุศลเป็นพิเศษ ซึ่งชาวบ้านก็จะใช้วันนี้ในการพากันไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายอาหารหวานคาวแด่พระสงฆ์ สมาทานศีล(รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด

.

ความสำคัญในวันพระ นอกจากการรักษาศีล ฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนแล้วนั้น ยังมีความสำคัญกับเหล่าพระสงฆ์สำหรับในการทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก และเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิและปัญญาด้วย

.

.

.

.

ป.ปลา อิ่มบุญ ยินดีให้บริการ ถวายสังฆทานออนไลน์ จัดส่งปลา รับฝากปล่อยปลา และให้บริการบริจาคโลงศพ ถ้าไม่สะดวกมาทำบุญด้วยตัวเอง เรายินดีเป็นสะพานบุญให้ท่าน

.

.

.

เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00 น. - 16.00 น.

ติดต่อสอบถามโทร 082-064-3956

Facebook , Line , IG : @p.plaaimboon

.

Comments


bottom of page